“ประภัตร” เผย เตรียมคิกออฟโครงการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงสุกรเชียงใหม่วันเสาร์นี้ พร้อมเจรจาประเทศเพื่อนบ้านแลกซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมทั้งแนะกระทรวงพาณิชย์นำเข้าสุกรชั่วคราว

“ประภัตร” เผย เตรียมคิกออฟโครงการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงสุกรเชียงใหม่วันเสาร์นี้ พร้อมเจรจาประเทศเพื่อนบ้านแลกซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมทั้งแนะกระทรวงพาณิชย์นำเข้าสุกรชั่วคราว

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

“ประภัตร” เผย เตรียมคิกออฟโครงการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงสุกรเชียงใหม่วันเสาร์นี้ พร้อมเจรจาประเทศเพื่อนบ้านแลกซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมทั้งแนะกระทรวงพาณิชย์นำเข้าสุกรชั่วคราว

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า วันเสาร์ที่ 8 มกราคมนี้จะเปิดโครงการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยที่หยุดเลี้ยงไป กลับมาเลี้ยงใหม่ เริ่มที่ภาคเหนือซึ่งมีผู้เลี้ยงรายย่อยกว่า 70,000 ราย นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่พักคอกสุกรเพื่อป้องกันโรคระบาดจากประเทศเพื่อนบ้านนานกว่าภาคอื่น

ทั้งนี้ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์เตรียมคู่มือและแผนการอบรมการจัดการ “ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม” (GFM) เพื่อยกระดับการเลี้ยงของผู้เลี้ยงรายย่อยให้สามารถป้องกันโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยการปรับปรุงให้เป็นฟาร์ม GFM ไม่สูงมาก มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 30,000 ล้านบาทจากธ.ก.ส. ให้เกษตรกรกู้ยืม อีกทั้งพลเอกประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีให้ของบกลางเพื่อจัดหาเวชภัณฑ์ได้

อย่างไรก็ตามเบื้องต้นได้รับความร่วมมือจากผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่ที่จะกระจายลูกสุกรแก่ผู้เลี้ยงรายย่อยและรายเล็กทดแทนพันธุ์สุกรที่มีจำนวนลดลง เป็นลูกสุกรอายุ 2 เดือน แต่ต้องใช้ระยะเวลาขุน 4 เดือน ทั้งนี้จึงเสนอแนะกระทรวงพาณิชย์ให้นำเข้าเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศในระยะสั้น ควบคู่กับมาตรการระงับส่งออกที่มีผลแล้ว โดยล่าสุดรัฐบาลได้เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า โดยไทยนำเข้าข้าวโพดเพื่อมาทำวัตถุดิบอาหารสัตว์ กำลังหาแหล่งผลิตเพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาถูก ค่าอาหารคิดเป็นต้นทุนถึง 70% ของการเลี้ยง ซึ่งผู้เลี้ยงแจ้งว่า ค่าอาหารต่อการขุนสุกรน้ำหนัก 100 กิโลกรัม 6,000 กว่าบาท แต่คณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกรประเมินว่า เฉลี่ยที่ 3,300 บาทซึ่งจะทบทวนให้ตรงกันและเป็นต้นทุนแท้จริง

นายประภัตรบอกอีกว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ มาตรการต่างๆ จะผ่อนคลายลง ซึ่งภาคเอกชนสามารถขอนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ตามปกติ โดยภาครัฐเร่งกำหนดมาตรการลดภาษีและงดเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อให้ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ถูกลงซึ่งจะทำให้ราคาเนื้อสุกรปรับลดอยู่ในระดับที่เหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง