กรมชลประทาน” เปิดโครงการ “ประหยัดน้ำทางรอดต้านแล้ง” เดินหน้ารณรงค์คนไทยประหยัดน้ำ เตรียมพร้อมก่อนเกิดวิกฤติภัยแล้ง ชู 8 มาตรการเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งปี 2564/65

กรมชลประทาน” เปิดโครงการ “ประหยัดน้ำทางรอดต้านแล้ง” เดินหน้ารณรงค์คนไทยประหยัดน้ำ เตรียมพร้อมก่อนเกิดวิกฤติภัยแล้งชู 8 มาตรการเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งปี 2564/65

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

กรมชลประทาน” เปิดโครงการ “ประหยัดน้ำทางรอดต้านแล้ง” เดินหน้ารณรงค์คนไทยประหยัดน้ำ เตรียมพร้อมก่อนเกิดวิกฤติภัยแล้ง
ชู 8 มาตรการเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งปี 2564/65

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำ และการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ ได้จัดทำโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ “ประหยัดน้ำ ทางรอดต้านแล้ง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้คนไทยประหยัดน้ำเพื่อชาติ นำเสนอภายใต้แนวคิด “ประหยัดน้ำ เท่ากับบริจาคน้ำ” เตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดทรัพยากรน้ำ ก่อนภาวะวิกฤติภัยแล้งจะมาถึงโดยกลุ่มเป้าหมายจะมุ่งเน้นไปที่ กลุ่มเกษตรกร นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยการรณรงค์จะนำเสนอผ่านเพลงและมิวสิควิดีโอเพลง Save Water หรือ เพลง ประหยัดน้ำ โดยศิลปินชั้นนำของเมืองไทย “ว่าน ธนกฤต” และ “เปาวลี พรพิมล” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในการรวมตัวเฉพาะกิจต้านภัยแล้งนำมาผสมกับดนตรีสมัยใหม่ เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าเพลงคือ “ภาษาสากล” เราสามารถใช้บทเพลงถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีกว่าการพูด สามารถสร้างการจดจำได้อย่างรวดเร็วและ ตระหนักถึง “ปริมาณน้ำ” และ “การใช้น้ำ” อย่างรู้คุณค่า ผลลัพธ์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นผลลัพธ์เพื่อชาติ ประโยชน์ไม่ได้เกิดแค่กับใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการประหยัดน้ำเราทำเพื่อคนไทยทั้งประเทศรวมทั้งยังได้มีการจัดทำคอนเทนต์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของกรมชลประทาน ทั้งในรูปแบบของการรายงานสถานการณ์น้ำ รูปแบบการบริหารจัดการน้ำแนวทางในการประหยัดน้ำ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดความเข้าใจ และเกิดการแชร์ต่อในวงกว้าง

สำหรับแนวทางด้านการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 กรมชลประทาน ได้ดำเนินการตามมาตรการการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 ทั้ง 8 มาตรการคือมาตรที่ 1 เร่งเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อเป็นน้ำต้นทุนในช่วงฤดูแล้ง
2 จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งสํารวจ ตรวจสอบ พื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองได้ 3 กําหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง รวมทั้งติดตามกํากับให้เป็นไปตามแผนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค พร้อมจัดทําทะเบียนผู้ใช้น้ำ 4 วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นอันดับแรก 5 เตรียมน้ำสํารองสําหรับพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อสนับสนุนน้ำเตรียมแปลง6 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักสายรอง และเตรียมแผนรองรับกรณีเกิดปัญหา 7 ติดตามประเมินผล เพื่อให้ผลการดําเนินงานเป็นไปตามแผนและ 8 สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและแผนบริหารจัดการน้ำ ให้ทุกภาคส่วน เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้

นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดแผนจัดสรรน้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วง ฤดูแล้งปี 2564/65 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 30 เมษายน 2565ซึ่งจากปริมาณน้ำต้นทุนทั่วประเทศ วันที่ 1 พฤศจิกายน2564 จํานวน 37,857 ล้าน ลบ.ม. วางแผนจัดสรรน้ำจํานวน 22,280 ล้าน ลบ.ม. (สํารองน้ำต้นฤดูฝนปี2565 รวม 15,577 ล้าน ลบ.ม.) โดยจัดลําดับความสําคัญ ตามกิจกรรม ดังนี้ การอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ การเกษตรฤดูแล้ง และอุตสาหกรรม โดยมีแผนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง จํานวน 6.41 ล้านไร่และขอให้ประชาชนตระหนักถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และร่วมแรงร่วมใจกันประหยัดน้ำ ใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง