กลุ่มสภาการแพทย์แผนไทย ถามเจาะใจ "อนุทิน"ทำไมด้อยค่ายาไทย

กลุ่มสภาการแพทย์แผนไทย ถามเจาะใจ “อนุทิน”ทำไมด้อยค่ายาไทย

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

กลุ่ม สภาการแพทย์แผนไทย-สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร” ถามใจ”อนุทิน” ทำไมด้อยค่ายาไทยรักษาโควิด-19 หันไปนำเข้ายาต่างชาติราคาเม็ดละ 550บาท แทนยืมจมูกต่างชาติหายใจ

      นางรฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและประธานองค์กรภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าในขณะนี้มีข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขได้สั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ เพื่อทดแทนยาฟาวิพิราเวียร์ พร้อมกับมีการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นยาชนิดแรกที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคโควิด-19โดยตรงออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส ไม่ให้เพิ่มจำนวนได้ ราคาเม็ดละประมาณ 550 บาทในส่วน ตนรู้สึกผิดหวังต่อบทบาทของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่ให้ความสำคัญต่อการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่เป็นหน่วยงานระดับกรมในสังกัดซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาตำรับยาแผนไทยโบราณให้เป็นที่ยอมรับแล้วนำมาใช้ อย่างที่ควรจะเร่งดำเนินการตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญและแผนยุทธศาสตร์ชาติ 

ทั้งนี้อยากถามว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่รู้เลยหรือว่าประเทศไทยเรามียาสมุนไพรหลายตำรับที่รักษาโควิด-19ได้ผลจริงและมีบันทึกไว้ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์สมัยในหลวงรัชกาลที่5ทำไมไม่นำมาใช้ ทำไมต้องนำยาของต่างชาติมาใช้ ทั้งๆที่ตำรับยาแผนไทยก็รักษาโควิด-19ได้ผลจริงและไม่เข้าใจว่าทำไมด้อยค่ายาตำหรับไทย จนหันไปให้ค่ายาต่างประเทศที่มีราคาสูงทั้งที่มียาตำหรับไทยที่มีคุณค่าจำนวนมาที่ควรให้การสนับสนุน

ขณะที่พลเรือเอกชาญชัย เจริญสุวรรณ นายกสภาการแพทย์แผนไทยกล่าวว่า ส่วนตนรู้สึกเสียใจและเศร้าใจกับแนวคิดการฝากชีวิตประชาชนคนไทยไว้กับต่างชาติ โดยไม่คิดพึ่งพาตนเอง ทั้งๆที่ไทยมีงานวิจัยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร กระชายขาว โกฐจุฬาลัมพา ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีใช้ทุกครัวเรือน และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัสเช่นเดียวกัน นั้นยังไม่นับรวมถึงตำรับยาแผนไทยซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาห้าราก ยาจันทลีลา ยาเขียวหอม รวมทั้งภูมิปัญญาพื้นบ้าน ตำรับยา และสมุนไพรเหล่านี้ ได้มีการใช้ดูแล รักษาผู้ที่มีอาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 โดยคลินิกแพทย์แผนไทยอาสา และเครือข่ายได้ผลดีเป็นที่ประจักษ์ สามารถพิสูจน์ได้ไม่แพ้ยาจากต่างประเทศที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการนำเข้า โดยรัฐบาลควรให้การสนับสนุนให้มีการวิจัยสมุนไพรและยาตำรับไทยเป็นการเร่งด่วน อยากถามภาครัฐว่าเราต้องใช้จมูกคนอื่นหายใจไปอีกนานแค่ไหน

ด้าน พท.ภ.บัญชา สุวรรณธาดา รองประธานองค์กรภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า”ตำรับยาไทยกับโรคหวัดอุบัติใหม่ ถ้ามองดูให้ดีการดูแลรักษาสุขภาพ การสร้างภูมิคุ้มกัน การรักษาโรคหวัดอุบัติใหม่ด้วยพืชสมุนไพรที่มีภายในประเทศ ถึงแม้จะไม่มีงานวิจัยรองรับ แต่ก็ถูกใช้สืบทอดกันมายาวนานหลายยุคหลายสมัย มีทั้ง เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติ มีทั้งเป็นยาในคัมภีร์แพทย์แผนไทยที่ถูกต้อง เช่นตำรับจันทลีลา,ตำรับยาห้าราก,ตำรับตรี ผลาฯ หรือแม้แต่ยาเดี่ยว เช่นกระชายและฟ้าทะลายโจรที่ใช้ในช่วงวิกฤติของประเทศที่ผ่านมาประชาชนเขารู้ กันทั้งประเทศโดยองค์กรภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของครูบาอาจารย์ แพทย์แผนไทยทุกภาคทั่วประเทศที่มีจิตบริสุทธิ์ต้องการช่วยเหลือวิกฤตของแผ่นดิน ได้ร่วมแรงร่วมใจกันปรุง ยาและแจกจ่ายไปให้กับประชาชนมากกว่า 1,300,000 เม็ดใช้กับผู้ที่ติดเชื้อถึง 3400 คนที่สำคัญคือได้ผล เป็นที่ประจักษ์นี่คือจุดแข็งของประเทศถ้าหากเรามองให้เป็น รัฐบาลน่าจะถือเอาเป็นโอกาสสำคัญในการใช้ภูมิปัญญาของประเทศไทยที่มีมาช้านาน ควรที่จะส่งเสริมและ สนับสนุนให้ใช้ภายในประเทศเพื่อป้องกันและรักษาโรคอุบัติใหม่ดังกล่าว หากประเทศไทยใช้ได้ผลดีอาจ เป็นช่องทางที่นำเสนอต่อชาวโลกได้ว่านี่คือหนึ่งในตัวยาจากพืชหรือยาฐาน Biobase ที่ประเทศไทยมี และควรพัฒนาในการส่งออกไปสู่ทั่วโลกได้ ด้วย

นายเมธา สิมะวรา นายกสมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร กล่าวว่า “ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เช่นเดียวกับทุกประเทศ เมื่อคนอยู่กับบ้านมากขึ้น ทำงานที่บ้าน work from home มากขึ้น การเดินทางย่อมลดลง การท่องเที่ยวทรุด สถานที่ต่างๆปิดให้บริการ ส่งผลให้ยาดม ยาอม ยาหม่อง น้ำมันนวด น้ำมันเหลือง ที่เคยขายดีมากนักท่องเที่ยวซื้อไปเป็นของฝากสร้างรายได้จำนวนมากลดลงอย่างมากซึ่งน่าจะถึงเวลาที่ คนไทยด้วยกันเองหนัมาให้ความสนใจยาตำหรับไทยแทนการนำเข้ายาต่างประเทศทีมีราคาสูงเกินเหตุส่วนตัวเชื่อมั่นว่าถ้าหากได้รับการสนับสนุนยาแผนไทยอย่างเต็มที่จากฝ่ายบริหาร ประเทศไทยเราจะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในการผลิตยาแผนไทยไว้ใช้รักษาสุขภาพคนไทยทุกคน และยังสร้างรายได้จากการส่งออกไปทั่วโลกได้อย่างเข้มแข็ง และยังจะช่วยกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรได้ด้วย

                  
บทความที่เกี่ยวข้อง