อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยืนยัน หมูไทยปลอดโรค AFS แจงส่งออกไปเวียดนามตามข้อกำหนดสั่งเข้มยกระดับมาตรการตรวจสอบที่ด่านท่าออก

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยืนยัน หมูไทยปลอดโรค AFS แจงส่งออกไปเวียดนามตามข้อกำหนดสั่งเข้มยกระดับมาตรการตรวจสอบที่ด่านท่าออก

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยืนยัน หมูไทยปลอดโรค AFS แจงส่งออกไปเวียดนามตามข้อกำหนดสั่งเข้มยกระดับมาตรการตรวจสอบที่ด่านท่าออก สร้างความมั่นใจให้ประเทศผู้นำเข้า

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าจากกรณีที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้ส่งจดหมายถึงสถานเอกอัครราชฑูตไทยในกรุงฮานอย แจ้งว่าเวียดนามจะห้ามนำเข้าสุกรขุนมีชีวิตจากประเทศไทย มีผลวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป สาเหตุสืบเนื่องจากตรวจพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรนั้น ในประเด็นดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับพบว่าสุกรสล๊อตดังกล่าวพบผลการสุ่มตรวจโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทางห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดก่อนการส่งออกไปยังเวียดนามนั้น ปรากฏว่าไม่พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาหรือ ASF

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้า ในการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพสุกรของประเทศไทย กรมปศุสัตว์ได้สั่งชะลอการส่งออกสุกรมีชีวิตของฟาร์มและบริษัทฯที่ประเทศเวียดนามแจ้งว่าตรวจพบผลบวกดังกล่าวแล้วและจะเร่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด แล้วสรุปรายงานให้ทางประเทศเวียดนามทราบ

นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้ยกระดับมาตรการตรวจสอบสุกรมีชีวิตก่อนการส่งออกให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น โดยมีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการส่งออกสุกรทุกรายได้ทราบว่า สุกรมีชีวิตทุกชนิดที่จะส่งออกไปยังเวียดนามต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ด่านกักกันสัตว์ท่าออกอีกครั้ง ก่อนอนุญาตให้ส่งออก โดยสุ่มเก็บตัวอย่างสุกรบนรถขนสุกรทุกคันบริเวณจุดขนถ่ายสุกร ณ ท่าส่งออก หรือจุดที่ด่านกักกันสัตว์กำหนดจำนวน 10 ตัวอย่าง/คัน

Group of pig that looks healthy in local ASEAN pig farm at livestock. The concept of standardized and clean farming without local diseases or conditions that affect pig growth or fecundity

ทั้งนี้ มาตรการที่ยกระดับขึ้นมานี้ ให้มีผลบังคับใช้ในทันที เพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมของประเทศเวียดนามที่กำหนดไว้ว่า สุกรขุนมีชีวิตต้องมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สุกรขุนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และโรคกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจ (PRRS) รวมทั้งต้องได้รับการตรวจจากห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ว่าสุกรขุนปลอดจากโรคอหิวาต์แอฟริกา ในสุกร (ASF) โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) และปลอดจากสารเร่งเนื้อแดง (Beta-Agonist) โดยหลังจากนี้เป็นต้นไป หากพบว่ายังมีปัญหากับเวียดนาม ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตาม กรมปศุสัตว์ จะพิจารณาระงับการส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังเวียดนามโดยทันทีต่อไป

ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์ยังมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมารัฐบาลได้ยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อป้องกันการลักลอบนำสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เข้าประเทศ เฝ้าระวังและค้นหาโรคเชิงรับและเชิงรุก เช่น การเฝ้าระวังทางอาการในฟาร์ม การเฝ้าระวังในโรงฆ่าสัตว์ การเฝ้าระวังในซากและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาด การประเมินความเสี่ยงระดับอำเภอทั่วประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละระดับความเสี่ยง ตลอดจนดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยการทำลายสุกรในฟาร์มที่มีความเสี่ยงสูงมาก ด้วย

“ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกรของประเทศไทย โดยการกำกับดูแลของกรมปศุสัตว์นั้น มีการพัฒนามาตรฐานการผลิตเนื้อสุกรตลอดห่วงโซ่การผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (Good Agricultural Practices : GAP) โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าสัตว์ (Good Manufacturing Practice : GMP) จนถึงโรงงานแปรรูปที่ต้องปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Hygienic Practice : GHP) และการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP)” นายสัตวแพทย์สรวิศกล่าว

บทความที่เกี่ยวข้อง
boonmarket

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จัดงาน “บุญมาร์เก็ต” งานแฟร์ใจฟูทั้งผู้ให้ และผู้รับ อิ่ม ฟิน ช้อป พร้อมกระทบไหล่ศิลปินดาราดัง 1-7 พ.ค.นี้ ที่เซ็นทรัล เวสต์เกต รายได้นำไปช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ รพ. รามาธิบดี