“ไชยวัฒน์” ส่งไม้ต่อ “ศุภชัย” เดินหน้า “สภาเอสเอ็มอี” ชูโมเดล “SMEs Smart Province” สร้างความเข้มแข็ง SMEs จากระดับจังหวัด

“ไชยวัฒน์” ส่งไม้ต่อ “ศุภชัย” เดินหน้า “สภาเอสเอ็มอี” ชูโมเดล “SMEs Smart Province” สร้างความเข้มแข็ง SMEs จากระดับจังหวัด

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

สภาเอสเอ็มอีเลือกตั้งประธานคนใหม่ “ดร.ศุภชัย” นั่งแท่นประธานแทน “ไชยวัฒน์”เดินหน้าขับเคลื่อนช่วยผู้ประกอบการ SMEs ฟื้นฟูธุรกิจหลังวิกฤตโควิด เชื่อมโยงช่องทางตลาดการซื้อขายระหว่างจังหวัด การค้าชายแดน นำร่องด่านถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ พร้อมหนุนสินค้าไทยการส่งออกเปิดตลาดกลุ่มประเทศมุสลิมและยุโรป  

25 กุมภาพันธ์ 2565 สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 โดยมีวาระสำคัญในการเลือกตั้งประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย วาระปี 2565-2566 แทนนายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ โดยที่ประชุมได้รับรอง ดร.ศุภชัย แก้วศิริ ขึ้นเป็นประธานสภาเอสเอ็มอีในวาระปี 2565-2566

ายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ เปิดเผยว่า “จากการก่อตั้งสภาเอสเอ็มอีมาตั้งแต่ปี 2557 โดยภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ที่ประกอบไปด้วยสมาคม มูลนิธิ ชมรม และคลัสเตอร์ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นผู้แทนของ SMEs ในการสะท้อนปัญหาและความต้องการของ SMEs พร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไปยังหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่ามี 3 Pain Point ของ SMEs ได้แก่ ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การตลาด และด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม จึงได้พัฒนา SMEs Smart Province โมดล เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวแบบบูรณาการครบวงจรขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งประเทศจากระดับจังหวัดต่อไป”

ดร.ศุภชัย แก้วศิริ เปิดเผยว่า “ในปี 2565 หาก สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย หรือไปในทิศทางที่ดีขึ้น สภาเอสเอ็มอีจะเร่งดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ทั้งขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro) โดยจะเริ่มต้นจากการสร้างองค์ความรู้และนวัตนกรรม การหาแหล่งเงินทุน และการขยายช่องทางการตลาดให้มากขึ้น แล้วนำเสนอมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือภาคธุรกิจ SMEs ต่อรัฐบาลต่อไป”

“การให้ความช่วยเหลือด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สภาเอสเอ็มอีเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณในรูปแบบกองทุน SMEs ที่บริหารโดยภาคเอกชน โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุนและร่วมกลั่นกรอง เพื่อดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้กับ SMEs กลุ่มต่างๆ ที่ครอบคลุมทั้ง SMEs กลุ่ม Startup และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรากหญ้าตัวแรก นำไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศต่อไป” ดร.ศุภชัย กล่าว

นอกจากนี้ เสนอให้มีการยืดหยุ่นเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าธนาคารเดิมด้วยเงื่อนไขผ่อนปรน ทั้งกลุ่มที่มีประวัติการชำระปกติ กลุ่มที่เป็น NPL และ/หรือปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงกลุ่มที่ต้องการขอสินเชื่อรายใหม่ โดยพิจารณาบนพื้นฐานของสถานการณ์ไม่ปกติ

แนวทางการช่วยเหลือ SMEs ด้านการตลาด เสนอแนวทางการเชื่อมโยงช่องทางตลาดเอาไว้ 3 ช่องทาง ได้แก่

  1. การซื้อขายระหว่างจังหวัด ผ่านประธานสภาเอสเอ็มอีจังหวัด
  2. การค้าชายแดน (นำร่องด่านถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์)
  3. การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศมุสลิมและยุโรปเพื่อนำรายได้เข้าประเทศด้วย สำหรับสินค้าที่พร้อมส่งออก

“ด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ มีความพร้อมที่จะรองรับสินค้า SMEs จากทั่วประเทศ ที่มีเป้าหมายที่จะส่งสินค้าไปยังประเทศกัมพูชา” นายสืบสมบัติ ศรีสุรินทร์ ประธานสภาเอสเอ็มอีจังหวัดสุรินทร์กล่าว

สภาเอสเอ็มอี “ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมแบ่งปัน”

https://www.facebook.com/ThaiSMEsCouncil

#ThaiSMEsCouncil

บทความที่เกี่ยวข้อง
boonmarket

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จัดงาน “บุญมาร์เก็ต” งานแฟร์ใจฟูทั้งผู้ให้ และผู้รับ อิ่ม ฟิน ช้อป พร้อมกระทบไหล่ศิลปินดาราดัง 1-7 พ.ค.นี้ ที่เซ็นทรัล เวสต์เกต รายได้นำไปช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ รพ. รามาธิบดี