เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือ เฮ กระทรวงเกษตรทุ่มงบ 10,018 ล้านบาท เยียวยาผู้ ที่ได้รับผลกระทบ โรคระบาด ลัมปีสกิน

เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือ เฮ กระทรวงเกษตรทุ่มงบ 10,018 ล้านบาท เยียวยาผู้ ที่ได้รับผลกระทบ โรคระบาด ลัมปีสกิน

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

เกษตรกร ผู้เลี้ยงโค-กระบือ เฮ กระทรวงเกษตรทุ่มงบ 10,018 ล้านบาท เยียวยาผู้ ที่ได้รับผลกระทบ โรคระบาด ลัมปีสกิน ตาย จ่าย อัตราใหม่ ทุกราย ย้อนหลังถึงเดือน มีนาคม 64 เกษตรกรแจ้งตรงที่ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ได้ทันที ก่อนประชาคมตรวจสอบให้โปร่งใส ประเดิม 4 จังหวัดแรกเริ่มต้น กันยายนนี้

8 ก.ย. 64 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค ลัมปีสกินในโค กระบือ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้กระทรวงเกษตร เร่งรัดในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้เร็วที่สุด หลังจากที่มีการระบาดมาหลายเดือน โดย กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการต่างๆ ในการควบคุมโรค ทำให้สถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งขณะนี้พบการระบาดสะสม รวม 65 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 268,371 ราย โค – กระบือป่วยสะสม 581,747 ตัว รักษาหายแล้ว 441,543 ตัว อยู่ระหว่างการรักษา 90,879 ตัว ป่วยตายสะสม 51,073 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2564)

ทั้งนี้ ล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ที่ ประสปปัญหา โค กระบือ เสียชีวิต ลง และให้เกิดความเป็นธรรมต่อเกษตรกร จึงได้มีกำหนดอัตราการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโค – กระบือ เสียชีวิตจากโรคลัมปี – สกิน ใหม่ตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 นั้น ใหม่ ซึ่งมีการกำหนดช่วยเหลือเกษตรกรที่โคเสียชีวิต ตามการเสียชีวิตจริง และ ไม่เกินรายละ 5 ตัว ในอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือโค ที่เสียชีวิตที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนตัวละ 13,000 บาท อายุ 6 เดือนถึง 1 ปีตัวละ 22,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปีตัวละ 29,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ตัวละ35,000 บาท ขณะที่ กระบือ ที่เสียชีวิตจ่ายตามจริงและไม่เกินรายละ 5 ตัว ในอัตราที่กำหนด โดยกระบืออายุน้อยกว่า 6 เดือน ตัวละ15,000 บาท อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี ตัวละ24,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปี ตัวละ32,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ตัวละ39,000 บาท

สำหรับประกาศหลักเกณฑ์ปลีกย่อยฯ อัตราใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 ไปยังกระทรวงการคลังเพื่อให้สามารถเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี – สกิน ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 ครอบคลุมมากขึ้นทั้งเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน รวมถึงกรณีที่เกษตรกรไม่ได้เก็บหลักฐานการตายของสัตว์ไว้ ก็สามารถไปแจ้งที่ปศุสัตว์อำเภอ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการทำประชาคม ให้จบหากทำประชาคมครบ 3 วันแล้ว ไม่มีผู้คัดค้าน ก็สามารถรับเงินเยียวยาได้ ทันทีนอกจากนี้กรณีที่เกษตรกรได้รับเงินเยียวยาไปแล้วในเรทอัตราเยียวยาเก่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทบทวนอีกครั้ง เพื่อจ่ายเงินเยียวยาส่วนต่างเพิ่มเติมให้เท่ากันอัตราการเยียวยาใหม่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประมาณการค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร กรณี โค – กระบือ ป่วยตายด้วยโรคลัมปี – สกิน ไว้ที่ 1,018,009,150 บาท

“พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การระบาดของโรค และได้สั่งการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก้ไขปัญหา และดูแลเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้เร็วที่สุด ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ มี 4 จังหวัด ที่เกษตรกรส่งเอกสารเข้ามาครบแล้ว และกรมปศุสัตว์ตรวจสอบข้อมูล ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนครบถ้วนแล้ว ได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสระแก้ว เป็นเกษตรกร 2,576 ราย สัตว์ตาย 2,800 ตัว ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังทยอยจ่ายเงินเยียวยา จำนวน 29,772,000 บาท ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่แจ้ง ให้เร่งแจ้งได้ทันทีเจ้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อจะเร่งจ่ายให้กับเกษตรกร ให้เร็วที่สุด“ รมช.ประภัตร กล่าว

นายประภัตร กล่าวอีกว่าในส่วนวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาด กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการสั่งวัคซีน LSDV ป้องกันโรคลัมปี สกิน เข้ามาเพิ่มอีก 5 ล้านโด๊ส โดยมีการนำเข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว ล็อตแรก 2.5 ล้านโด๊ส และจะทยอยเข้ามาอีกในล็อตที่สองและล็อตที่สาม จนครบ 5 ล้านโด๊ส ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการวางแผนจัดสรรวัคซีนไว้แล้ว ยึดตามหลักรวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม ตามสัดส่วนของจำนวนประชากรสัตว์ทั่วประเทศ โดยขณะนี้หน่วยงานในสังกัดของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ มีการทำแผนวัคซีนเรียบร้อยแล้ว และสามารถดำเนินการได้ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง
boonmarket

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จัดงาน “บุญมาร์เก็ต” งานแฟร์ใจฟูทั้งผู้ให้ และผู้รับ อิ่ม ฟิน ช้อป พร้อมกระทบไหล่ศิลปินดาราดัง 1-7 พ.ค.นี้ ที่เซ็นทรัล เวสต์เกต รายได้นำไปช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ รพ. รามาธิบดี