ปศุสัตว์ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการอาหารสัตว์ เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์การขาดแคลนและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูง

ปศุสัตว์ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการอาหารสัตว์ เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์การขาดแคลนและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูง

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

ปศุสัตว์ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการอาหารสัตว์ เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์การขาดแคลนและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูง

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยนายโสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่กรมประมง ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้ประชุมผ่านระบบออนไลน์เพื่อหารือถึงผลกระทบและแนวทางแก้ไขเพื่อบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น

โดยทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยแจ้งว่า โรงงานอาหารสัตว์ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนจากราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน คิดเป็ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 25-30% ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่ 1.สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารจัดการและการขนส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ 2.นโยบายภาครัฐที่ต้องการดูแลราคาพืชอาหารสัตว์ในประเทศ เช่น มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลีโดยจะต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ 3 ส่วนก่อนนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน การจำกัดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมาตรการด้านภาษี อาทิ ภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2%

รวมถึงที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกาและอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตถั่วเหลืองที่สำคัญของโลกประสบภาวะภัยแล้งส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันมีความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญต่อประเทศไทยรวมถึงทั่วโลก โดยเฉพาะข้าวสาลีสำหรับเลี้ยงสัตว์ ทำให้การส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์หยุดชะงักไป เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์และทำให้มีราคาสูงขึ้น

ทั้งนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้มีความเห็นและมีข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งอาจมีผลมาจากภาวะสถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดทั่วโลกและภาวะความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมไปถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน(Climate change) จึงจำเป็นต้องมีแนวทางที่รองรับสถานการณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งนำมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตภาคปศุสัตว์ ดังนั้นต้องมีมาตรการในการหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนซึ่งมีแหล่งที่มาจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในที่ประชุมมีข้อสรุปถึงแนวทางมีในการแก้ปัญหา ดังนี้คือระยะสั้นให้ ยกเลิกมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี 3:1 ส่วน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำเข้าข้าวสาลีได้โดยเสรี
จากหลายแหล่งทั่วโลก ส่งผลให้ราคาการซื้อขายเป็นไปตามกลไกตลาดโลกพร้อมยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเนื่องจากกากถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนที่ใช้เป็นวัตถุดิบสัตว์ในการผลิตอาหารสัตว์ และเปิดให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบ WTO, AFTA ยกเลิกโควต้า ภาษีและค่าธรรมเนียม ในปริมาณที่ขาดแคลนในปี 2565 เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบทำให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเพียงพอตลอดปี และลดต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์

ส่วนระยะยาวให้การส่งเสริมการปลูกข้าวโพดภายในประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะการปลูกภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว (ข้าวโพดหลังนา)
พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตพืชอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพดให้สามารถมีผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมการส่งเสริมการปลูกและใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดพร้อม (Green Deal)ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้พัฒนาสูตรอาหารสัตว์ที่มีวัตถุดิบทางเลือกสำหรับเกษตรกรเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง